"การเมืองป่วนทอง" ความต้องการไตรมาส 2 ลดลง 10% -ขายคืนมากกว่าซื้อใหม่

รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) โดย นาย Shaokai Fan หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าฝ่ายธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก ราคาทองคำที่สูงขึ้น การฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ผันผวน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยทำให้ความต้องการทองคำไตรมาส 2 ลดลง 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว

ครึ่งปี 66 บริษัทเอกชนไทยออกหุ้นกู้ลดลง พบผิดนัดชำระ 1.2 หมื่นล้านบาท คำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ

ดัชนีครัวเรือนเดือนก.ค.ฟื้นตัวเล้กน้อย อานิสงส์จากท่องเที่ยวฟื้น

รวมทั้งความต้องการซื้อเครื่องประดับลดลงเหลือน้อยกว่า 2 ตันเนื่องจากผู้บริโภคเลือกขายคืนเครื่องประดับทองคำมากกว่าซื้อใหม่

ในประเทศไทย ดีมานด์ทองคำของผู้บริโภคลดลง 10% อยู่ที่ 7.6 ตัน จาก 8.5 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 การตกลงมานี้เป็นผลจากความต้องการเครื่องประดับที่ลดลง 10% มาอยู่ที่ 1.7 ตัน จาก 1.9 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 และดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำโดยรวมลดลง 10% มาอยู่ที่ 5.9 ตัน จาก 6.6 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565

ขณะที่ ความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ลดลง 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่ 921 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 แม้ว่าดีมานด์โดยรวม (รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) จะเพิ่มขึ้น 7% สะท้อนถึงตลาดทองคำที่แข็งแกร่งทั่วโลก

ด้านการบริโภคเครื่องประดับยังคงฟื้นตัวแม้เผชิญกับราคาที่สูง โดยเพิ่มขึ้น 3% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมียอดรวมครึ่งปีแรกที่ 951 ตัน การฟื้นตัวของดีมานด์ในประเทศจีน และการซื้อของผู้บริโภคในตุรกีที่แข็งแกร่งอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งช่วยหนุนการบริโภคในไตรมาสที่ 2

โดยสรุป ดีมานด์ทองคำรวมทั่วโลกสูงขึ้น 7% มาอยู่ที่ 1,255 ตัน ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าการผลิตจากเหมืองแร่จะทุบสถิติสูงสุดสำหรับครึ่งปีแรกที่ 1,781 ตัน

Ms. Louise Street นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสประจำสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ความต้องการที่สูงเป็นประวัติการณ์ของธนาคารกลางมีอิทธิพลต่อตลาดทองคำในช่วงปีที่ผ่านมา แม้จะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 แต่แนวโน้มนี้ขีดเส้นใต้ความสำคัญของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างต่อเนื่องทั่วโลก”

เมื่อพิจารณาช่วงครึ่งหลังของปี 2566 การหดตัวทางเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดการดีดตัวของทองคำเพิ่มเติม ถือเป็นการเน้นย้ำบทบาทของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยขึ้นอีกขั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ ทองคำได้รับแรงหนุนจากความต้องการของนักลงทุนและธนาคารกลาง ซึ่งมาช่วยชดเชยความต้องการที่ลดลงสำหรับเครื่องประดับและเทคโนโลยีจากการประหยัดของผู้บริโภค

 "การเมืองป่วนทอง" ความต้องการไตรมาส 2 ลดลง 10% -ขายคืนมากกว่าซื้อใหม่

You May Also Like

More From Author