นักวิทย์สร้าง “แผนที่ดาวอังคาร” เตรียมพร้อมสำหรับตั้งถิ่นฐานบนดาวสีแดง

ในการจะเดินทางไปที่ไหนก็ตาม หนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ “แผนที่” เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า กำลังเดินทางไปที่ใด และจุดหมายปลายทางอยู่ตรงจุดไหน ไม่เว้นแม้แต่ “ดาวอังคาร” ก็ต้องมีแผนที่เช่นกัน เพื่อให้การส่งยานสำรวจขึ้นไปลงจอดเป็นไปอย่างปลอดภัย

ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กอาบูดาบี (NYUAD) กำลังทำให้ความฝันเข้าใกล้ความเป็นจริงเข้าไปทุกที ด้วยการสร้างแผนที่ดาวอังคาร “Mars Atlas” ขึ้นมา โดยผสานภาพความละเอียดสูงกว่า 3,000 ภาพเข้าด้วยกัน

ทำไมโรคระบาดรุนแรง มักมาจาก “ค้างคาว” มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น?

นักวิทย์พบ “ฟองกาแล็กซี” คาดเป็นฟอสซิลที่เหลือจาก “บิ๊กแบง”

“ขั้วใต้ของดวงจันทร์” มีอะไร? ทำไมชาติมหาอำนาจต้องส่งยานไปสำรวจ

ดิมิทรา อาทรี หัวหน้ากลุ่มวิจัยดาวอังคารที่ NYUAD กล่าวว่า ภาพความละเอียดสูงกว่า 3,000 ภาพที่ใช้ในการสร้างแผนที่ดาวอังคารนี้ ถูกบันทึกโดยยานสำรวจโฮป (HOPE) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งโคจรรอบดาวอังคารมาตั้งแต่ปี 2021

“ถ้าคุณดูประวัติศาสตร์ของการสำรวจดาวอังคาร มียานสำรวจจำนวนมากที่ประสบเหตุตก ชนกัน” อาทรีกล่าว พร้อมเสริมว่า ชั้นบรรยากาศที่เบาบางของดาวอังคารทำให้จรวดหรือยานสำรวจชะลอความเร็วได้ยาก และแม้แต่ลมเพียงเล็กน้อยก็สามารถเปลี่ยนวิถีการลงจอดได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 นักวิทย์สร้าง “แผนที่ดาวอังคาร” เตรียมพร้อมสำหรับตั้งถิ่นฐานบนดาวสีแดง

เขาบอกอีกว่า “หากการส่งยานสำรวจล้มเหลว ถือเป็นความสูญเสียวิทยาศาสตร์และทรัพยากรครั้งใหญ่ แต่เมื่อคุณจะส่งมนุษย์ไปด้วย คุณต้องระวังให้มาก” ดังนั้น การทำความเข้าใจรูปแบบสภาพอากาศ ทั้งรายวันและตามฤดูกาล จะสามารถช่วยให้นักวิจัยระบุเวลาและสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดในการลงจอดได้

การมีแผนที่ที่แม่นยำและถูกต้อง นอกจากจะช่วยในเรื่องการลงจอดของยานสำรวจแล้ว ยังสามารถช่วยระบุสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับ “การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนดาวอังคาร” ได้ด้วย ทั้งในแง่ของภูมิทัศน์ อุณหภูมิ และทรัพยากร

“หากอยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำแข็ง เราก็สามารถเปลี่ยนมันให้เป็นน้ำเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ … มันอาจจะฟังดูไร้สาระ แต่บางทีในอนาคต มันอาจเป็นเรื่องปกติมากที่ผู้คนจะไปดาวอังคารและอาศัยอยู่ที่นั่น” อาทรีกล่าว

ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้พยายามจัดทำแผนที่ดาวอังคารมาเกือบ 200 ปีแล้ว โดยแผนที่ดาวอังคารฉบับแรกจัดทำขึ้นในปี 1840 โดยวิลเฮล์ม เบียร์ และโยฮันน์ ฟอน มาดเลอร์

ต่อมาภารกิจขององค์การนาซา (NASA) ในช่วงทศวรรษปี 1960 และ 1970 ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจภูมิประเทศของดาวอังคารได้ดีขึ้น ทั้งภูมิประเทศที่เป็นภูเขาไฟ ลาวา หุบเขาหิน และพายุฝุ่นขนาดมหึมา

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา นาซาก็ได้สร้างแผนที่จำนวนหนึ่ง ซึ่งรวมถึงแผนที่ที่อิงตามแร่วิทยาของดาวเคราะห์ด้วย และเมื่อต้นปีนี้ หน่วยงานอวกาศของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่แผนที่ 3 มิติของดาวอังคารเป็นครั้งแรก

อาทรีบอกว่า ในส่วนของแผนที่ฉบับล่าสุดจาก NYUAD นี้ ถือเป็น “แผนที่ฉบับแรกที่ใช้ภาพถ่ายสีจริงของดาวเคราะห์ทั้งดวง”

ปัจจุบัน สถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศก็อดดาร์ดของนาซาได้นำแผนที่ของ NYUAD ไปประยุกต์ใช้กับซอฟต์แวร์ Mars 24 แล้ว ขณะที่ JMARS ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสาธารณะที่นักวิทยาศาสตร์ของนาซาใช้สำหรับการวางแผนภารกิจบนดาวอังคาร ก็ได้นำแผนที่ Mars Atlas ไปใส่ไว้ในฐานข้อมูลด้วย

สกอตต์ ดิกเคนชีด ตัวแทนของ JMARS บอกว่า แผนที่ของ NYUAD “สร้างขึ้นจากข้อมูลที่ได้รับเมื่อเร็ว ๆ นี้มากกว่าแผนที่ทั่วโลกบางส่วนก่อนหน้านี้ และให้มุมมองเพิ่มเติมว่าดาวอังคารมีหน้าตาเป็นอย่างไร”

ในส่วนของการศึกษาดาวอังคารนั้น มีทฤษฎีว่า ดาวอังคารเคยเป็นดาวเคราะห์ที่มีน้ำปกคลุมเหมือนโลก แต่ชั้นบรรยากาศที่บางลงทำให้เกิดความเย็นและความแห้ง ซึ่งนำไปสู่สภาวะแห้งแล้งในปัจจุบัน และขณะนี้ต้องเผชิญกับพายุฝุ่นเป็นประจำ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพอากาศ รวมถึงการต้านรังสีและกักความร้อน

อาทรีบอกว่า การเปลี่ยนจากดาวที่มีน้ำกลายเป็นทะเลทราย เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น คาบสมุทรอาหรับและแอฟริกา และเขาเชื่อว่า นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศสามารถนำข้อมูลที่รวบรวมเกี่ยวกับการแปรสภาพเป็นทะเลทรายของดาวอังคารมาใช้กับโลกได้ เพื่อทำความเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับดาวเคราะห์ของเราในอนาคต

“ความกังวลของผมคือ ถ้าเรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ไม่เพียงพอ โลกก็อาจจะกลายเป็นเหมือนดาวอังคาร” เขากล่าวเสริม

เรียบเรียงจาก CNN

ภาพจาก EMM/EXI/Dimitra Atri/NYU Abu Dhabi Center for Astrophysics and Space Science

You May Also Like

More From Author