G20 ปิดประชุม ด้วยแถลงการณ์ร่วมเลี่ยงประณามรัสเซีย!

เมื่อวานนี้ การประชุม G20 ระหว่างชาติที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ชาติครั้งที่ 18 ได้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการแล้วที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย การประชุมระหว่างบรรดาผู้นำและตัวแทนจากชาติที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาในปีนี้จบลงด้วยความประสบความสำเร็จในการบรรลุฉันทามติและออกแถลงการณ์ร่วม หรือ joint declaration ซึ่งจะสะท้อนจุดยืนของชาติสมาชิก G20 ต่อประเด็นต่างๆ ที่เป็นวาระร่วมกัน

นอกเหนือจากประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นวาระหลักประจำแล้ว

ปิดฉากประชุม G20 ไร้แถลงการณ์ร่วม “สงครามรัสเซีย-ยูเครน”

รัฐบาลอินเดีย เล็งเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "ภารัต"

ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก 11 ก.ย. 2566

ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่การประชุม G20 ต้องเผชิญต่อความท้าทายที่ตามมาจากประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์จากสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ในยูเครนแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุมครั้งนี้เป็นไปท่ามกลางช่วงเวลาที่ชาติในกลุ่ม G20 มีความเห็นที่ไม่ลงรอยกันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสงครามยูเครนและการเจรจาทางการทูตที่ยากลำบาก

ก่อนหน้านี้ นี่เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายวิตกกังวลว่าอาจส่งผลให้ที่ประชุม G20 ไม่สามารถหามติร่วมได้ โดยเฉพาะเมื่อเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ตัวแทนของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เข้าร่วมประชุมด้วย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าอินเดีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมและประธานหมุนเวียนของกลุ่ม G20 ในปีนี้จะประสบความสำเร็จในแสวงหาจุดร่วมและผลักดันแถลงการณ์ร่วมออกมา

แต่สื่อต่างชาติหลายสำนักตั้งข้อสังเกตตรงกันว่า เนื้อหาแถลงการณ์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครนนั้นหลีกเลี่ยงการประณามรัสเซียในฐานะผู้เริ่มทำสงครามโดยตรง และให้น้ำหนักไปที่ความทุกข์ยากของประชาชนชาวยูเครนที่กำลังเผชิญกับสภาวะสงคราม และผลกระทบต่างๆ ที่ตามมาสงคราม เช่น ปัญหาความมั่งคงทางอาหารหรือความมั่นคงทางพลังงาน

โดยแถลงการณ์ในส่วนดังกล่าวอิงข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในส่วนที่ระบุว่า “ทุกรัฐจะต้องละเว้นจากการกระทำคุกคามหรือใช้กำลังเพื่อแสวงหาหรือให้ได้มาซึ่งดินแดน โดยขัดต่อบูรณภาพแห่งดินแดนและอำนาจอธิปไตย หรือความเป็นเอกราชทางการเมืองของรัฐใดๆ” พร้อมระบุว่าที่ประชุม G20 “ยอมรับว่ามีมุมมองและการประเมินสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป” “ตระหนักถึงผลกระทบที่ร้ายแรงจากสงครามและความขัดแย้งทั่วโลก” และ “สนับสนุนสันติภาพที่ครอบคลุม ยุติธรรม และยั่งยืน” แม้ว่าอาจอนุมานจากเนื้อหาได้ว่าระบุถึงรัสเซียโดยอ้อม แต่ก็ไม่ได้มีการระบุชื่อรัสเซียอย่างเจาะจงเหมือนที่แถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม G20 ที่บาหลีเมื่อปี 2022

ซึ่งแถลงการณ์ครั้งนั้นประณามการทำสงครามรุกรานยูเครนของรัสเซียอย่างรุนแรงและตรงไปตรงมา กล่าวถึงสงครามในยูเครนว่าเป็น “การรุกราน” รวมถึงเรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนทันที

อย่างไรก็ดี นอกจากเรื่องข้อตกลงธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์แล้ว มีอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นหลังการเยือนเวียดนามของผู้นำสหรัฐฯ คือ การยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติไปอยู่ในระดับสูงสุด

หลังการประชุมจบลง เมื่อวานนี้ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้ออกมาแสดงความเห็นชื่นชมว่า การประชุม G20 ครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของทุกชาติร่วมกัน และผลการประชุมที่ออกมานั้นสะท้อนถึงผลประโยชน์ชองกลุ่มประเทศซีกโลกใต้หรือประเทศกำลังพัฒนา แต่ที่น่าสนใจคือ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซียยังระบุอีกว่า เป็นเพราะจุดยืนร่วมของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ประชุม G20 จึงไม่ถูกประเด็นสงครามยูเครนที่ชาติตะวันตกพยายามจะหยิบยกขึ้นมาบนที่ประชุมเบียดบังวาระอื่นๆ

อย่างไรก็ดี ไม่นานหลังที่ประชุมสามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้ โอเลก นิโคเลนโก โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศยูเครนก็ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์จุดยืนเกี่ยวกับสงครามยูเครนที่ออกมาจากที่ประชุม G20 ผ่าน Facebook

โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศยูเครนขอบคุณชาติพันธมิตรที่พยายามเสนอเนื้อหาที่ระบุถึงการรุกรานยูเครนของรัสเซียอย่างตรงไปตรงมาในที่ประชุม แต่ขณะเดียวกันก็ระบุว่า แถลงการณ์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครนนั้น “ไม่มีอะไรที่น่าภูมิใจ”

พร้อมทั้งยังส่งสัญญาณต่อกลุ่ม G20 ว่า การให้ยูเครนมีส่วนร่วมจะช่วยให้ชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในยูเครนได้ดีกว่า

ส่วนสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกกลุ่ม G20 ที่เห็นพ้องกับแถลงการณ์ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นชาติพันธมิตรที่ให้การสนันสุนยูเครนอย่างแข็งขันและมีท่าทีที่แข็งกร้าวต่อรัสเซียมาตลอด แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับท่าทีของที่ประชุม G20 โดยระบุว่า บรรยากาศในการเจรจาสะท้อนชัดเจนว่า ทุกประเทศในที่ประชุมรับรู้ถึงผลกระทบที่ตามมาจากสงคราม และต้องการให้รัสเซียหยุดรุกรานยูเครน ขณะที่แถลงการณ์ก็สะท้อนการสนับสนุนยูเครนและหลักอธิปไตยอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ดี มีการวิเคราะห์ท่าทีของสหรัฐฯ ว่า ทำไมสหรัฐฯ จึงไม่คัดค้านน้ำหนักการประณามรัสเซียที่อ่อนลงในแถลงการณ์ร่วมปีนี้แพทริก วินทัวร์ บรรณาธิการข่าวการทูตของหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน มองว่า นั่นเป็นเพราะสหรัฐฯ เคารพจุดยืนของอินเดียที่ไม่ต้องการให้ประเด็นสงครามเป็นเหตุให้การประชุมชะงักชันและไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้

โดยสหรัฐฯ ภายใต้การนำของพรรคเดโมแครตอาจกำลังจัดความสำคัญด้านนโยบายการต่างประเทศใหม่ขณะที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีใกล้เข้ามา ซึ่งอินโด-แปซิฟิกคือหนึ่งในประเด็นสำคัญลำดับต้นๆ และสหรัฐฯ ก็ต้องการพันธมิตรในภูมิภาคเพื่อคานอำนาจกับจีน เพราะฉะนั้น อินเดียจึงอาจเป็นพันธมิตรที่สหรัฐฯ ต้องการ

ทั้งนี้ ที่ประชุม G20 ครั้งนี้ยังมีมติรับรองประเด็นอื่นๆ ที่เป็นวาระเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจโลกและการพัฒนา

เช่น การขยายสมาชิกไปยังสหภาพแอฟริกา เพื่อให้ที่ประชุมสะท้อนจุดยืนและมุมมองของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น รวมถึงแนวคิดในการสร้างเส้นทางและโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมระหว่างตะวันออกกลางและเอเชียใต้ พร้อมความคืบหน้าในการพยายามผลักดันภายในกลุ่มให้หันไปใช้พลังงานหมุนเวียน

ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน

ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้

ประกาศรายชื่อวอลเลย์บอลหญิงไทย "นุศรา" นำทัพชุดลุยศึกคัดโอลิมปิก 2024

 G20 ปิดประชุม ด้วยแถลงการณ์ร่วมเลี่ยงประณามรัสเซีย!

ขณะที่สงครามยูเครนเป็นประเด็นถกเถียงทางภูมิรัฐศาสตร์ในที่ประชุมผู้นำระดับโลก ปฏิบัติการโต้กลับในยูเครนก็กำลังเป็นที่จับตาจากหลายฝ่ายเช่นกัน เนื่องจากมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางแนวรบหลักที่ซาโปริซเซียหลังจากประสบความชะงักงันและล่าช้าในการฝ่าแนวป้องกันที่ฝ่ายรัสเซียวางไว้ร่วม 2 เดือน อย่างไรก็ดี นายทหารระดับสูงของชาติพันธมิตรได้ออกมาระบุว่า ยูเครนมีเวลาอีกราว 30 วันสำหรับปฏิบัติการโต้กลับ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

เมื่อวานนี้ พลเอกมาร์ก มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐฯ ได้ให้สัมภาณษ์ผ่านรายการของ BBC ถึงปฏิบัติการโต้กลับที่กำลังดำเนินอยู่ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ในขณะนี้

โดยประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐฯ ออกมายอมรับว่า ปฏิบัติการโต้กลับในยูเครนเป็นไปอย่างล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันก็ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินว่า ปฏิบัติการโต้กลับครั้งนี้ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว แต่กองทัพยูเครนยังมีความคืบหน้าในการรุกคืบอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี นายพลสหรัฐฯ รายนี้เตือนว่ากองทัพยูเครนอาจเหลือเวลาดำเนินปฏิบัติการโต้กลับอีกราว 30-45 วันเท่านั้น ก่อนที่อากาศจะเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและตามมาด้วยฤดูหนาว เนื่องจากฝนที่ตกลงมาช่วงฤดูใบไม้ร่วงจะทำให้พื้นดินกลายเป็นโคลนและส่งผลให้การเคลื่อนกำลังพลเป็นไปได้ยากกว่าเดิม ส่วนในฤดูหนาว หิมะและอากาศหนาวก็เป็นอุปสรรคสำคัญในการรบเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม คีรีโล บูดานอฟ หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของยูเครนระบุเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ปฏิบัติการโต้กลับของยูเครนจะยังคงดำเนินต่อไป ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง โดยหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของยูเครนระบุว่า ท่ามกลางสภาพอากาศที่ทำให้การสู้รบเป็นไปได้ยากขึ้น ยูเครนจะไม่หยุดปฏิบัติการโต้กลับ แต่จะปรับเปลี่ยนยุทธวิธีการรบแทน

อย่างไรก็ดี มีการตั้งข้อสังเกตว่าปฏิบัติการโต้กลับที่กำลังดำเนินอยู่ตอนนี้มีโอกาสที่จะดำเนินไปนานกว่าที่นายพลสหรัฐฯ ออกมาคาดการณ์เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับปฏิบัติการโต้กลับในปี 2022 ปฏิบัติการครั้งนั้นจบลงในช่วงต้นฤดูหนาว โดยปิดฉากด้วยการปลดปล่อยส่วนหนึ่งของแคว้นเคอร์ซอน ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีโปร

ส่วนปฏิบัติการโต้กลับขณะนี้ มีรายงานว่ามีความคืบหน้าเพิ่มเติมทั้งที่แนวรบหลักทางใต้ในแคว้นซาโปริซเซียและทางภาคตะวันออกที่บัคมุตอย่างต่อเนื่อง โดยที่แนวรบหลักทางภาคใต้ในขณะนี้ จุดประสงค์ของกองทัพยูเครนคือการรุกคืบไปที่เมืองเมืองโตคมัค เมืองสำคัญก่อนถึงเมืองเมลิโตปอล เมืองที่รัสเซียใช้ขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ไปยังคาบสมุทรไครเมีย แคว้นเคอร์ซอน และภูมิภาคดอนบาส

ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกิดขึ้นที่รัสเซีย หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีสัญญาณออกมาจากทางการสหรัฐฯ ว่า คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือมีกำหนดเดินทางไปเยือนประธานาธิบดีปูติน ที่เมืองวลาดิวอสต็อกทางภาคตะวันออกของรัสเซีย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนอาวุธยุทโธปกรณ์ระหว่างกัน เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ทางการรัสเซียยืนยันแล้วว่า ผู้นำเกาหลีเหนือจะมาเยือนรัสเซียในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยการเดินทางไปเยือนครั้งนี้เป็นการเชิญจากผู้นำรัสเซีย

You May Also Like

More From Author